วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

ข้อมูลระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model)

  • 1. กล่าวนำ
    Digital Elevation Model (DEM) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะภูมิประเทศของโลก หรือพื้นผิวอื่นๆในรูปแบบดิจิตอล โดยมีค่าพิกัดและการแสดงค่าความสูง โดยส่วนมากจะถูกใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ DEM อาจสามารถใช้งานร่วมกับภาพแสดงพื้นผิวได้ ซึ่ง DEM มักถูกจัดเก็บในลักษณะของ Raster หรือจุดภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมโดยแต่ละช่องจะจัดเก็บค่าความสูงเอาไว้ ประโยชน์ของ DEM ใช้ในงานจำลองสภาพภูมิประเทศ การจำลองการบิน หรือการจำลองการไหลของน้ำเป็นต้น
    แบบจำลองความสูงภูมิประเทศ สามารถสร้างได้จากหลายวิธี เช่น แต่ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการสำรวจจากระยะไกล หรือวิธีการทางโฟโตแกรมเมตรีมากกว่าการสำรวจในสนามโดยตรง แต่ในปัจจุบันมีวิธีการที่ทันสมัยอื่นๆอีก เช่น การใช้เทคนิคการสำรวจด้วย Interferometric Synthetic Aperture Radar (IFSAR) การสำรวจด้วยภาพคู่ซ้อนจากภาพถ่ายจากดาวเทียม (ได้แก่ ดาวเทียม RADARSAT-1, ASTER, IKONOS) ส่วนวิธีการดั้งเดิมคือการสร้างจากเส้นชั้นความสูงซึ่งได้จากการสำรวจโดยตรงในสนามยังคงมีใช้อยู่บ้างโดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาที่อับสัญญาณเรดาห์เป็นต้น
    คุณภาพของ DEM จะเป็นการรังวัดความถูกต้องของค่าระดับความสูงของตะและจุดภาพ (absolute accuracy) และความถูกต้องในการแสดงลักษณะพื้นผิว (relative accuracy) โดยมีปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของ DEM ได้แก่:
    · ความขุรขระของภูมิประเทศ (terrain roughness)
    · ความหนาแน่นของการจัดเก็บค่าความสูง (elevation data collection method)
    · ความละเอียดของกริดหรือขนาดจุดภาพ (grid resolution or pixel size)
    · วิธีการในการ interpolation
    · ความละเอียดในทางระดับ (vertical resolution)
    · วิธีการในการวิเคราะห์ภูมิประเทศ (terrain analysis algorithm)

    2. คำจำกัดความ
    Digital Elevation Model (DEM) -โดยทั่วไปคำว่า digital elevation model หรือ DEM จะหมายถึงการแสดงสภาพพื้นผิวภูมิประเทศในเชิงตัวเลข อย่างไรก็ตามมักจะใช้กับการนำเสนอบนระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของราสเตอร์หรือกริดของความสูง
    Digital Terrain Model (DTM) – เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับ DEM แต่จะใช้ทั่วไปๆมากกว่า ข้อมูล DTM ความสูงของพืชพันธุ์ อาคาร สิ่งปลูกสร้างจะถูกเอาออกให้เหลือเฉพาะพื้นผิวของโลกจริงๆ
    Digital Surface Model (DSM) – หมายถึงแบบจำลองภูมิประเทศซึ่งจะแสดงพื้นผิวของโลกที่สามารถแสดงบนคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะรวมเอาความสูงของพืชพันธ์และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอาไว้ด้วย

    3. รูปแบบของข้อมูล DEM ที่ใช้กันแพร่หลาย
    โดยทั่วไปมักมีความเข้าใจที่สับสนเกี่ยวกับชื่อของข้อมูลระดับสูงเชิงเลขเสมอๆ เช่นมักมีคำถามว่า DTED กับ DEM แตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งในข้อเท็จจริงข้อมูลระดับสูงเชิงเลขมีคุณลักษณะร่วมที่จะคล้ายๆกันคือการจัดเก็บค่าความสูง และแสดงพื้นผิวของภูมิประเทศ แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือรูปแบบ (Format) ในการจัดเก็บข้อมูล หรือชื่อของผลิตภัณฑ์นั่นเอง และในบางครั้งรูปแบบต่างๆเหล่านี้สามารถแปลง (Convert) ไปมาได้เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนและการปฏิบัติงาน รูปแบบของข้อมูลระดับสูงเชิงเลขที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่
    · USGS-DEM
    · SDTS-DEM
    · DTED
    · BT
    · GEOTIFF

    4. USGS-DEM
    USGS DEM เป็นมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลระดับสูงเชิงเลขที่พัฒนาขึ้นโดย United States Geological Survey เป็นมาตรฐานเปิด หรือที่เรียกว่า open standard ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด แม้ว่าในปัจจุบัน USGS จะได้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบ SDTS ในการแลกเปลี่ยน แต่มาตรฐานเดิมนี้ยังคงเป็นที่นิยมอยู่เนื่องจากมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน มีซอฟแวร์ที่รองรับจำนวนมาก รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้จาก USGS DEM Standards
    4.1 ระดับความละเอียดของข้อมูล (DEM Level)
    USGS DEM สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ตามคุณภาพ วิธีการรวบรวม และความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  • Level 1 ผลิตจากการปรับแก้รูปถ่ายทางอากาศ อาจมาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและวิธีการ เทคนิคต่างๆกัน
  • Level 2 ผลิตจากเส้นชั้นความสูงของแผนที่ลายเส้น Digital Lline Graph (DLG) มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:100,000 ขึ้นไป accuracy และความละเอียดของข้อมูล ทำเพื่อสนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งในในการวิเคราะห์ hypsographic
  • Level 3 ผลิตจากแผนที่ลายเส้นประกอบกับรายละเอียดภูมิประเทศอื่นๆ เช่น ที่สูงต่ำ ทางน้ำ, ridge line, break line, และโครงข่ายควบคุมทางราบและทางดิ่งอื่นๆ
    ต้องการระบบที่จะต้องมาแปลหรือตีความข้อมูล
    Level 4 ผลิตจากระบบเซนเซอร์อื่นๆ (non-photogrammetric) ได้แก่ เรดาร์ หรือเลเซอร์ หรือระบบบันทึกแบบ passive ต้องมีกระบวนการหลังประมวลผลเพื่อให้ได้ผลผลิตในขั้นสุดท้าย

    4.2 Format Structure
    รูปแบบของ USGS DEM เป็นชุดของรหัส ASCII จำนวน 1024 byte ซึ่งจัดเก็บในเรคคอร์ดที่เรียกว่า A, B, และ C โดยไม่มีการสับสนในเรื่องการข้าม platform เนื่องจาก line ending control codes ไม่ได้ถูกนำมาใช้ และข้อมูลทั้งหมดรวมทั้งตัวเลขสามารถแสดงในรูปแบบที่สามารถอ่านได้ แม้ว่าโดยปกติจะถูกบีบอัดไฟล์ด้วยวิธี gzip. ก็ตาม
    Floating-point numbers จะถูกลงรหัสโดยภาษา FORTRAN A record จะเป็นไฟล์ header ส่วน C record จะเป็น trailer และ B records (หรือเรียกว่า profiles) จะเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลความสูง ทั้ง A และ C records จะถูกจัดให้ลงพอดีในหนึ่งบล็อก แต่เฉพาะ B record เท่านั้นที่ต้องการเนื้อที่จัดเก็บหลายบล็อก เมื่อเกิดการขยายของบล็อกขึ้น ข้อมูลก็จะถูกเลื่อนไปยังจุดเริ่มของขอบเขตของบล็อก
    ฟิลด์ในเรคคอร์ดของข้อมูลจะจัดเก็บ origin, type, summary statistics และระบบการวัดที่ถูกใช้ใน profiles หนึ่งในไอเท็มหลักก็คือ quadrangle ซึ่งเป็นชุดของค่าพิกัดสี่ค่าที่ใช้อธิบายถึงมุมทั้งสี่ด้านของข้อมูล DEM
    B records (profiles) เป็นคอลัมน์ที่จัดเก็บค่าความสูงตามแนวลองจิจูด ซึ่งจะเริ่มที่ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ประกอบด้วยข้อมูลความสูงต่างๆขนาดกว้าง 1024 bytes และ header เล็กๆที่ใช้ในการรวมค่าของ profile การที่ระดับความสูงจะถูกระบุว่าเป็นค่าที่ต่อเนื่อง หรือหยุด หรือไม่จะใช้ค่า "void" ซึ่งมีค่าเท่ากับ -32767 เป็นตัวกำหนด แต่ละค่าความสูงจะอธิบายด้วยตัวอักษร 6 ตัว ที่สามารถอ่านได้ พร้อมกับตำแหน่งที่คงที่ที่อยู่ในบล็อก ส่วน profile header จะปรากฏเฉพาะในบล็อกแรกเท่านั้น ดังนั้นบล็อกที่ต่อมาจะมีการเก็บค่าความสูงมากกว่า เมื่ออ่านค่า DEM จากไบต์แรกไปยังสุดท้าย จะอ่าน profiles เป็นคอลัมน์จากตะวันตกไปตะวันออก ค่าความสูงภายใน profile จะรันจากใต้ไปเหนือ
    ตัวแปรของตำแหน่ง (variable-location) และ variable-length nature of profiles จะใช้ระบบพิกัด UTM (Universal Tranverse Mercator) เนื่องจากการวัดระยะในระบบ UTM จะมีค่าที่คงที่ (เช่น จัดเก็บความสูงทุกๆ 30 เมตร) ตาราง quadrangle อาจมีการยืดหดไปตามขนาดของ spheriod การยืดหดนี้มักมีความชัดเจนหากเป็นรูปเหลี่ยมที่ถูกหมุน ดังนั้นคอลัมน์ระดับความสูงที่ใกล้ขอบด้านตะวันตกและตะวันออก start more northward and contain fewer samples.
    C records จะเก็บค่า root-mean squared error (RMSE) ของข้อมูลที่ใช้เป็นจุดควบคุมโดยเป็นฟิลด์ที่เป็น integer 16 หลัก

4.3 SDTS DEMs
ปัจจุบัน USGS ได้ยกเลิกรูปแบบข้อมูล USGS-DEM โดยได้มาใช้มาตรฐาน SDTS ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับสูง (DEM) และข้อมูลเวกเตอร์ต่างๆ (TIGER & DLG) จุดประสงค์ในการพัฒนารูปแบบ SDTS ก็เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภูมิสารสนเทศระหว่างระบบงานในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความหมายของข้อมูล และลดความต้องการข้อมูลภายนอกที่ใช้ในการถ่ายโอน
การใช้มาตรฐาน SDTS ได้รับความสนใจจากผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูลเป็นอย่างมากเนื่องจากได้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูล ลดความสูญเสียระหว่างโอนถ่ายข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำข้อมูล และเพิ่มคุณภาพและเสถียรภาพของข้อมูล โดย SDTS เป็นมาตรฐานในรูปแบบเปิด หรือ "open systems"
มาตรฐาน SDTS จะช่วยแก้ปัญหาในการโอนถ่ายข้อมูลภูมิสารสนเทศจากระดับแนวคิด (conceptual level) มายังการลงรหัสในรายละเอียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การโอนถ่ายนี้จะประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองเชิงพื้นที่ โครงสร้างข้อมูล และโครงสร้างทาง logical และ physical โดยครอบคลุมทั้งในแง่ของ data content และ data รายละเอียดของมาตรฐานสามารถหาได้จากเว็ปไซด์หลัก: SDTS Home Page
4.4 ข้อมูล DEM ที่ไม่ใช่ของ USGS (non-USGS DEMs)
ในปัจจุบันข้อมูลรูปแบบ DEM ยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่ใช้ .DEM อีกมากมาย เช่นไฟล์จากโปรแกรม "VistaPro" หรือเรียกว่า "VistaPro DEM" หรือข้อมูล DEM ของญี่ปุ่น ที่ใช้นามสกุล ".mem" หรือในบางครั้งอาจเป็น DEM แต่มี header ทีแตกต่างออกไปเช่น header มีขนาด 893 ไบต์, ต่างจากมาตรฐานที่ 864 หรือ 1024 ไบต์ หรือใช้ UTM ด้วยระยะห่าง 100 เมตร เป็นต้น ดังนั้นหากจะใช้งานกับข้อมูลระดับสูงในรูปแบบ DEM ในอันดับแรกผู้ใช้งานจะต้องทราบให้แน่ชัดว่า DEM ที่ใช้งานนั้นเป็นมาตรฐานของ USGS หรือไม่ หากไม่ใช่โปรแกรมหรือซอฟแวร์นั้นสามารถรองรับได้หรือไม่

5. Digital Terrain Elevation Data: DTED
DTED เป็นข้อมูลระดับสูงเชิงเลขที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนในการสร้างซอฟต์แวร์ทางทหาร โดย National Imagery and Mapping Agency (NIMA) ได้พัฒนามาตรฐานสำหรับสำหรับจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็น matrix ของค่าระดับความสูงของพื้นที่ เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขสำหรับระบบซอฟต์แวร์ที่ต้องการค่าความสูง ความลาดชัน และความหยาบของพื้นผิวขึ้นมาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล
NGA ได้ให้คำจำกัดความของ DTED คือ “เมตริกทางภูมิศาสตร์ของข้อมูลระดับสูง ที่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปเชิงตัวเลข สำหรับการจัดเก็บและการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูด ลองจิจูด) และมีค่าระดับสูงมีหน่วยเป็นเมตร”
สำหรับประเทศที่ใช้ข้อมูลเหล่านี้คือ Belgium, Denmark, France, Germany, Italy, Netherlands, Norway, Spain, และ United Kingdom. DTED Level 0 อาจมีค่าสำหรับด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิคและโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ความสูง ความชัน และพื้นผิว ซึ่งจะให้รายละเอียดผิวโลกในแง่ของการสร้าง Model ทั่วไป ส่วน Level อื่นๆ ที่มีความละเอียดเพิ่มขึ้น อาจใช้ในด้านการนำทาง (Flight Guidance) หรืองานด้านความปลอดภัยอื่นๆ
ข้อมูล DTED จะถูกจัดเก็บในขนาดพื้นที่ 1 องศา x 1 องศา (หรือประมาณ 60 ตารางไมล์ ที่เส้นศูนย์สูตร) DTED จะใช้พื้นหลักฐานทางราบคือ WGS84 และพื้นหลักฐานทางดิ่งคือ Mean Sea Level (MSL) ในการอ้างอิง


5.1 รูปแบบโครงสร้างไดเรกทรอรีของข้อมูล DTEDใน CD-ROM

ใน CD จะประกอบด้วย Directory ที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆดังนี้
- DTED – ไดเรกทอรี่ ที่จัดเก็บข้อมูลระดับความสูงซึ่งข้อมูลระดับสูงภายในนี้จะถูกนำไปใช้งาน
- GAZETTE – เป็นไดเรกทรอรี่ที่จัดเก็บข้อมูลชื่อสถานที่สำหรับใช้อ้างอิง
- DMED – เป็นไดเรกทรอรี่ที่จัดเก็บค่าระดับสูงปานกลางของแต่ละเซลล์โดยแบ่งออกทีละ 15”
- TEXT – เป็นไดรกทรอรี่ที่จัดเก็บไฟล์ Read.ME ที่ใช้อธิบายชุดข้อมูล และจัดเก็บไฟล์ ONC.DIR

สำหรับรายละเอียดภายในไดเรกทรอรี่ DTED จะประกอบด้วย
VOL (Volume header label)
File header label (HDR)
User Header Label (UHL)
Data Set Identification (DSI) Record
Accuracy description record (ACC)
และเรคคอร์ดที่จัดเก็บค่าระดับความสูง (Elevation Profile)


6. SRTM
6.1 ความเป็นมาและลักษณะข้อมูล:
Shuttle Radar Topography Misssion (SRTM) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง NASA และ National Geospatial-Intelligence Agency (NGA) ในการสำรวจและทำแผนที่ลักษณะภูมิประเทศของโลกในลักษณะสามมิติ โดยการสำรวจจากกระสวยอวกาศ Endeavour (สำรวจในช่วง 11-22 February 2000) โดย USGS ได้ร่วมลงนามกับ NGA และ NASAs Jet Propulsion Laboratory ในการแจกจ่ายข้อมูล วิธีการสำรวจจะใช้ระบบคลื่นเรดาร์หรือ interferometer สองส่วนคือ dual Spaceborne Imaging Radar (SIR-C) และ dual X-band Synthetic Aperture Radar (X-SAR) ในการจัดเก็บข้อมูลกว่า 80% ของพื้นผิวโลกครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ละติจูด 60 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้
ข้อมูล SRTM สามารถนำมาใช้ในการสร้างแผนที่ภูมิประเทศเชิงเลข โดยการเก็บความสูงทุกๆ 1 arc second หรือ 30 เมตรโดยประมาณในพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้นจะให้บริการเฉพาะข้อมูลที่มีความละเอียด 90 เมตร ข้อมูลที่สมบูรณ์ (SRTM "finished" data) จะมีค่าความถูกต้องทางราบ 20 เมตร (circular error at 90% confidence) และทางดิ่งอยู่ที่ 16 เมตร (linear error at 90% confidence)
6.2 การประมวลผลข้อมูล:
ข้อมูล SRTM จะถูกประมวลผลจากข้อมูลดิบที่สะท้อนจากคลื่นเรดาร์เพื่อสร้างเป็นข้อมูลระดับสูงเชิงเลข (DEM) ที่ Jet Propulsion Laboratory (JPL), Pasadena, CA. ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บค่าความสูงทุกๆ 1 arc-second (หรือประมาณ 30 เมตร ที่เส้นศูนย์สูตร) ขั้นต่อมาข้อมูลจะถูกแก้ไขโดย National Geospatial Intelligence Agency (NGA, หรือ NIMA เดิม) แล้วแจกจ่ายในรูปแบบของDTED® รายละเอียดหาได้จาก http://edcsns17.cr.usgs.gov/srtmdted2/ และ http://edcsns17.cr.usgs.gov/srtm/
การแก้ไขดังกล่าวจะได้แก่ การแก้ไขขอบเขตของข้อมูล ระดับสูงบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำ ขอบเขตชายฝั่ง การแก้ไขส่วนที่ข้อมูลขาดหายไป ซึ่งข้อมูลที่สมบูรณ์ "finished" นี้จะถูกเผยแพร่เป็นสองส่วนคือความละเอียด1 arc-second ในพื้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และความละเอียด 3 arc-seconds ที่ละติจูด 60 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้
6.3 การให้บริการข้อมูล:
ข้อมูล SRTM จะเป็นลักษณะ seamless raster data โดยสามารถดาวโหลดพื้นที่ขนาด 30 ตารางองศาละติจูด ลองจิจูดได้ผ่านระบบเครือข่าย ขนาดประมาณ 100 mb โดยจัดเก็บในระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (latitude/longitude) และพื้นหลักฐานอ้างอิงทางราบและทางดิ่ง อิงกับ EGM96 Geoid.ข้อมูลที่สมบูรณ์จะให้บริการใน 4 รูปแบบ (formats) :
1. ArcGrid – เป็นรูปแบบไฟล์ของโปรแกรม ArcInfo :ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมอื่นๆสามารถอ่านรูปแบบนี้ได้ ArcGrid โดยปกติจะอยู่ในรูปที่ไม่มีการบีบอัดด้วย tar หรือ gzip
2. GRIDFLOAT – เป็นรูปแบบที่ได้จากการรันคำสั่ง GRIDFLOAT ในโปรแกรม Arc โดยจะมี floating-point binary data file ,มากับ ASCII descriptor files ด้วย
3. BIL - เป็นรูปแบบที่ได้จากการรันคำสั่ง GRIDIMAGE ในโปรแกรม Arc รูปแบบ BIL จะมีขนาดที่กะทัดรัดกว่า ArcGrid โดยจะประกอบด้วย integer binary file ที่มาพร้อมกับ ASCII descriptor files รูปแบบนี้แนะนำให้ใช้กับซอฟแวร์ที่ไม่รองรับกับข้อมูล floating-point data.
4. TIFF - เป็นรูปแบบไฟล์ราสเตอร์ 32 bit floating point
6.4 โครงสร้างของข้อมูล
ข้อมูล SRTM ที่ได้จาก SRTM DTED® แต่ละเซลล์จะประกอบด้วย 5 ไฟล์ คือ:1) *.bil2) *.blw3) *.hdr4) *.prj5) *.stxข้อมูล SRTM เป็นรูปแบบราสเตอร์ binary (signed integer data, 16 bit) โดยจะมากับ ASCII header file ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดเช่นจำนวน row, column ข้อมูล SRTM จะจัดเก็บในลักษณะ row major order (เก็บข้อมูลใน row 10 จนเต็มแล้วตามด้วยข้อมูลใน row 2)



7. รูปแบบของข้อมูลระดับสูงเชิงเลขอื่นๆ
ASTER DEM -ASTER ("Advanced Spaceborne Thermal Emission and Reflection Radiometer") เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลภาพที่ถูกติดตั้งบนดาวเทียม TERRA ซึ่งถูกส่งขึ้นวงโคจรในเดือนธันวาคม 1999 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Earth Observing System (EOS) องค์การ NASA
ความละเอียดของข้อมูลเทียบเท่ากับข้อมูล USGS-DEM ความละเอียด 30 เมตร
สามารถดาวโหลดได้ฟรีที่ EOS Data Gateway รูปแบบที่ใช้ในการแจกจ่ายได้แก่ HDF-EOS และ 16-bit GeoTIFF (สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก VTBuilder) อ่านรายละเอียดโครงการจาก ASTER DEM article ที่ Terrainmap.com รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับการดาวโหลดที่ ASTER DEM Download Procedure
PGM -รูปแบบที่แสดงผลในแบบระดับสีเทา "portable greymap" ความละเอียด 16-bit resolution
โปรแกรมฟรีที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ PGM ได้แก่ hftools
NTF -รูปแบบไฟล์ที่ Ordnance Survey ประเทศอังกฤษเคยใช้ในการส่งผ่านข้อมูล NTF มักใช้ระบบพิกัดกริด British National Grid coordinate system
Surfer GRD -รูปแบบไฟล์กริดของโปรแกรม Surfer
Arc ASCII Grid -รูปแบบของค่ากริดของ ESRI ซึ่งมี header ไฟล์แล้วตามด้วยค่าตัวเลขความสูง (plain text numbers )
Arc Binary Grid -รูปแบบของค่ากริดของ ESRI อีกแบบหนึ่ง
TerraGen TER -รูปแบบไบนารีอย่างง่ายซึ่งเป็น integer based ไม่รองรับตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
BT (Binary Terrain) -รูปแบบของข้อมูลระดับสูงเชิงเลขของโปรแกรม VTP

ไม่มีความคิดเห็น: